เปิดประสบการณ์ การฝึกโยคะกับแม่ครูSaraswathi(เรื่องเล่า…จากศาลาฝึกโยคะของแม่ครู Saraswathi Jois (ตอนที่ 1)

เปิดประสบการณ์ การฝึกโยคะกับแม่ครูSaraswathi(เรื่องเล่า…จากศาลาฝึกโยคะของแม่ครู Saraswathi Jois ตอนที่ 1)

16395766_1381441678540858_1235860519_n

เมื่อประมาณ 4เดือนที่แล้ว ผมมีโอกาสได้จัดสรรตารางชีวิตของตนเองแล้ว พบว่าพอจะสามารถทำให้ตนเองมีเวลาว่าง ในช่วงปลายเดือน ธันวาคม 2559 ไปจนถึง กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2560ได้ ณ ตอนนั้น ผมเองก็คิดแค่เพียงว่า อยากหยุดพักงานสอนโยคะสัก1-2เดือน เพราะทำงานมาเยอะตลอดทั้งปี และอยากจะไปฝึกโยคะ ในสถานที่ไหนก็ได้ ที่ไม่มีใครรู้จักเรา
ผมจึงตัดสินใจส่งใบสมัครออนไลน์แบบไม่ปรึกษาใครทั้งนั้น ไปที่ Shri K.Pattabhi Jois Ashtanga Vinyasa Yoga Institute.(KPJAYI.) เมืองมัยซอร์ ประเทศอินเดีย คือผมเคยมีประสบการณ์มาฝึกที่นี่แล้วครั้งหนึ่งเมื่อประมาณ4-5ปีที่แล้ว จากประสบการณ์ดังกล่าวผมจึงคิดว่า มาที่นี่ผมจะได้ฝึกในแบบที่ต้องการแน่นอนล่ะครับ แล้วก็จะมีเวลาพักผ่อนระหว่างวันค่อนข้างเยอะอีกด้วย
เนื่องจากครั้งที่แล้วผมได้ฝึกโยคะที่นี่กับคุณครูSharath ก็มีความประทับใจกับสไตล์วิธีการสอนของคุณครูSharath ผมก็เลยพยายามจะยื่นใบสมัครมาฝึกกับคุณครูSharathอีก แต่เนื่องด้วยการที่ผมนั้นไม่ได้ปรึกษาใครเลย ก็เลยไม่ทราบว่าขั้นตอนการสมัครมาฝึกกับคุณครูSharath ว่ามีความแตกต่างจากเดิมพอสมควร ไม่ได้สมัครง่ายเหมือนสมัยก่อน มีรายละเอียดยิบย่อยในการสมัครหลายอย่าง ที่เราควรจะต้องสอบถามจากผู้ที่มีประสบการณ์ในการมาฝึกที่เป็นประจำทุกๆปี เราจึงจะทราบขั้นตอน สรุปแล้วก็คือ ผมไม่สามารถสมัครมาฝึกกับคุณครูSharathได้อ่ะนะ ทันใดนั้นเองผมก็คิดขึ้นมาว่า เราแค่มาฝึก มาเพิ่มพูนประสบการณ์ในการฝึก ดังนั้นถ้าตั้งใจที่จะมาฝึกที่นี่แล้วก็ควรมา อย่าให้เสียความตั้งใจเลย ลองส่งใบสมัครมาฝึกกับแม่ครูSaraswathi(คุณแม่ของคุณครูSharath)ก็ได้นี่หน่า ผมจึงยื่นใบสมัครมาฝึกกับแม่ครูSaraswathi ซึ่งการสมัครมาฝึกกับแม่ครูก็ไม่ได้ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อนอะไรเลยครับ และที่สำคัญคือ มักจะตอบรับเกือบหมดทุกคนที่ส่งใบสมัครเข้ามาฝึกกับแม่ครู

หลายคนอาจจะเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า…แล้วการฝึกกับคุณครูSharath และการฝึกกับแม่ครูSaraswathi มีความแตกต่างกันอย่างไร ผมสรุปแบบง่ายๆให้เลยคือ

ผู้ที่จะมาฝึกกับคุณครูSharath จะต้องมีประสบการณ์ในการฝึกAshtanga Vinyasa Yoga มาแล้วพอสมควรแล้ว และฝึกภายใต้การแนะนำดูแลของคุณครูที่ได้รับอนุญาตจากKPJAYI.(ครูที่ผ่านการAuthorized)แบบสม่ำเสมอ ผู้ฝึกจะต้องมีความแม่นยำในการจดจำท่าฝึกทั้งหมดที่ตนเองฝึกได้ คือตรงนี้ ณ ปัจจุบัน จะเป็นข้อมูลที่มีอยู่ในการสมัครออนไลน์น่ะครับ และส่วนใหญ่ผู้ที่จะมาฝึกกับครูSharath ก็มักจะเป็นสุดยอดฝีมือในการฝึกAshtanga Vinyasa Yoga จากทั่วโลก ที่มีความหวังว่าการฝึกโยคะอย่างต่อเนื่องยาวนานของตน การทุ่มเทเสียสละ อุทิศตนเพื่อการฝึกของตน จะได้รับการAuthorized จากคุณครูSharath ถ้าคุณครูSharathเห็นสมควร ซึ่งผู้ฝึกกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักจะสมัครเพื่อมาฝึกอยู่ที่นี่ไม่ต่ำกว่า 2เดือน(การสมัครมาฝึกกับคุณครูSharath จะสามารถลงทะเบียนฝึกขั้นต่ำได้ ที่ 1เดือน และสูงสุดไม่เกิน 3เดือน) ณ ปัจจุบัน ถึงแม้นจะได้รับการยืนยันการสมัครผ่านระบบออนไลน์ และได้รับอีเมล์การตอบรับการสมัครแล้ว แต่ก็จะต้องมายื่นใบสมัครด้วยตนเองอีกครั้ง ซึ่งการมายื่นใบสมัครด้วยตนเองกับคุณครูSharath จะทำได้แค่ภายในวันที่ 1-5 ของแต่ละเดือน(เวลา15:30-16:30น.)เท่านั้น

ส่วนผู้ที่จะมาฝึกกับแม่ครูSaraswathi ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้ฝึกที่เพิ่งจะเริ่มต้น ยังจดจำท่าฝึกไม่ค่อยได้ และผู้ที่มีข้อจำกัดทางด้านสุขภาพบางอย่าง รวมไปจนถึงกลุ่มของผู้ฝึกที่มีประสบการณ์ในการฝึกAshtanga Vinyasa Yogaที่ดีอยู่แล้ว แต่แค่ต้องการมาฝึกเฉยๆ ไม่ได้ต้องการการรับรอง ไม่ได้ต้องการการAuthorized (การสมัครมาฝึกกับแม่ครูSaraswathi จะสามารถลงทะเบียนฝึกขั้นต่ำได้ ที่ 2สัปดาห์ และสูงสุดไม่เกิน 3เดือน) ราคาค่าสมัครลงทะเบียนฝึกกับแม่ครูจะถูกกว่าของคุณครูSharathเล็กน้อย การมายื่นใบสมัครด้วยตนเองกับแม่ครูSaraswathi จะทำผ่านผู้ช่วยชื่อAnupama สามารถมายื่นใบสมัครด้วยตนเองได้เกือบทุกวันเลยล่ะครับ(เวลา16:30-18:00น.)ยกเว้นวันอาทิตย์ และวันMoon Day.

ด้วยข้อจำกัดและความแตกต่างทางด้านการสมัครลงทะเบียนที่ได้เรียนให้ทราบในข้างต้น ในระยะหลังๆมานี้ จึงมีผู้ฝึกสมัครลงทะเบียนฝึกกับแม่ครูSaraswathiเยอะเลยล่ะครับ

เป็นโอกาสที่ดีมากๆเลยล่ะครับ ที่ผมได้มาฝึกกับแม่ครูSaraswathi ปัจจุบันนี้แม่ครูอายุ 75ปีแล้ว แต่ยังคงแข็งแรง และยังคงสอนโยคะด้วยตนเองเกือบทุกวัน
การสอนของแม่ครูจะแบ่งเป็น 2รูปแบบ คือ
1. วันธรรมดา จันทร์-ศุกร์ จะฝึกแบบ Self Practice.(ตั้งแต่4:30-11:00น.)
2. วันอาทิตย์ Led Class, Primary Series.(รอบแรก 5:30น., รอบสอง 7:30น.)
(แม่ครูจะหยุดสอนในวันเสาร์)

ประสบการณ์เกี่ยวกับการฝึกแบบ Self Practice กับแม่ครูSaraswathi ผมได้รอบฝึกที่เวลา 8:30น. แต่ที่นี่เค้าจะรู้กันล่ะครับ ว่าจะต้องมารอก่อนอย่างน้อยๆครึ่งชั่วโมง หรือถ้าจะให้ดีก็ต้อง 1ชั่วโมง มายืนรอคิวเข้าแถว เรียกเข้าศาลาฝึก, การดูแลคลาสของแม่ครู จะออกแนวอินดี้และผ่อนคลายพอสมควรเลยล่ะครับ หลายๆครั้งขณะที่พวกเรากำลังฝึก Self Practiceกันอย่างมุ่งมั่นจริงจัง แม่ครูก็จะเดินไปเปิดเพลง/บทสวดมนตร์อินเดีย และเดินฮัมเพลง/สวดมนตร์พร้อมๆกับการเดินดูแล และAdjust.ให้ผู้ฝึกในคลาสไปพร้อมๆกัน, แม่ครูเป็นคนใจเย็น ใบหน้าแววตาอมยิ้มตลอดเวลา แม่ครูไม่เคยรำคาญนักเรียนใหม่ บางครั้งแม่ครูจะไปประกบสอนนักเรียนใหม่และพูดบอกท่าฝึกให้นักเรียนใหม่ตลอดเวลาเกือบทุกท่าเลยล่ะครับ
การฝึกที่นี่ ในขณะที่เราฝึกในคลาส เราจะทำท่าฝึกได้เท่าที่ครูสั่งเท่านั้นนะครับ ห้ามทำเกินคำสั่งหรือนอกเหนือคำสั่ง ถ้าครูให้หยุดที่ตรงไหน ก็ต้องหยุดตรงนั้น ถึงแม้นบางคนจะเคยฝึกผ่านPrimary Seriesมาจากที่อื่นและเริ่มฝึกSecond Seriesแล้วก็ตามแต่ ถ้าหากมาฝึกที่นี่ ครูยังไม่ได้สั่งให้ฝึกSecond Seriesก็ไม่ควรจะทำเกินที่คุณครูท่านสั่ง ซึ่งถ้าหากทำเกินที่คุณครูสั่ง แม่ครูก็จะชี้ไปที่คนคนนั้น แล้วถามว่า..ใครสั่งให้คุณเริ่มฝึกท่านี้? คุณฝึกโยคะมาจากไหน? ใครเป็นคนสอนคุณมา? แล้วแม่ครูก็จะส่ายหัว และถามต่ออีกว่า ทำท่าหลักๆ อาทิ Supta Kurmasana หรือ Marichyasana D.ได้สมบูรณ์แล้วหรือยัง?(ซึ่งทั้ง2ท่านี้ ก็คือท่าปราบเซียนในการฝึกPrimary Series เลยก็ว่าได้ล่ะครับ) คือถ้าทำทุกท่าใน Primary Series ได้หมดคล่องแล้ว แม่ครูก็จะปรับเปลี่ยนและเพิ่มท่าให้ล่ะครับ แต่ถ้ายังติดท่าใดอยู่ แม่ครูมักจะยังไม่ให้ผ่านไปง่ายๆ แม่ครูจะเน้นให้ทุกคนทำชุดท่าฝึก Primary Series ให้ได้อย่างแม่นยำ คล่องแคล่ว สมบูรณ์ เสียก่อน
ในศาลาฝึกทุกๆคนจะต้องปิดอุปกรณ์ สื่อสารทุกชนิด ห้ามบันทึกภาพ ห้ามใช้โทรศัพท์ ยกเว้นเฉพาะของแม่ครูคนเดียวเท่านั้น และแน่นอน ถ้าพวกเรากำลังฝึกๆอยู่และได้ยินเสียงโทรศัพท์ดัง นั่นเป็นเสียงโทรศัพท์ของแม่ครูแน่นอน และแม่ครูจะพร้อมเสมอที่จะเดินไปรับโทรศัพท์ ถึงแม้นว่ากำลังจะAdjust.นักเรียนที่กำลังฝึกอยู่ก็ตาม อันนี้เป็นที่รู้กันในกลุ่มพวกเราที่ฝึกกับแม่ครู วันหนึ่งผมก็ได้ประสบเข้ากับเหตุการณ์นี้แบบจังๆ บ่อยครั้งเลยล่ะครับสำหรับการฝึกของผมที่นี่ ที่แม่ครูSaraswathiจะมาช่วยSave และจับผมเพื่อทำท่ายืนDrop Back เพื่อเอื้อมมือไปจับข้อเท้า ก็เป็นที่รู้กันของผู้ฝึกทุกๆคนที่นี่ล่ะครับว่าการDrop Backครูจะต้องจับเราและให้เราโยกเอนตัวแอ่นหลังก่อน 3ครั้ง ครั้งที่4 จึงจะDrop Backจริง ในขณะที่แม่ครูจับผมโยกไปได้ 3ครั้ง และผมกำลังจะDrop Backจริง สิ่งที่ไม่คาดคิด ณ ช่วงเวลานั้นก็เกิดขึ้น คือ เสียงโทรศัพท์ของแม่ครูดังขึ้นมาครับ แม่ครูไม่มีรีรอ ดึงตัวผมกลับขึ้นมาก่อนที่จะเอนตัวครั้งที่4 แล้วแม่ครูก็บอกผมว่า ยืนรอแป๊บหนึ่งนะ ทันใดนั้นแม่ครูก็ปล่อยมือจากผมและรีบเดินไปรับโทรศัพท์ทันที ปล่อยให้ผมยืนอึ้งงงอยู่พักหนึ่ง อิๆๆ ฮ่าๆๆ โดนเข้าแล้วซิเรา หลังจากที่แม่ครูใช้เวลาคุยโทรศัพท์ไปประมาณนาทีกว่าๆ ก็เดินกลับมาที่ผมและช่วยจับผมDrop Back และต่อด้วยการช่วยกดยืดคลายกล้ามเนื้อหลังในท่าPaschimottanasana ด้วยเหตุการณืนี้นี่เอง ผมก็ได้เพื่อนเพิ่มเพียบเลยล่ะครับ ไอ้พวกที่ฝึกเสื่อใกล้ๆผมก็จะแอบยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ และนำเอาเรื่องนี้ไปสนทนากันแบบขำๆสนุกๆ เมื่อเจอหน้าผมทุกๆคนก็จะทักทายผมพร้อมอมยิ้มแบบที่รู้กันว่าเรื่องอะไร อิๆๆ ฮ่าๆๆ ก็เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำน่ะครับ เมื่อผมนึกถึงเหตุการณ์นี้ทีไร ก็อดที่จะแอบยิ้มคนเดียวไม่ได้เลยสักที การทำชุดท่าจบ Finishing Series ก็จะมีวัฒนธรรมคล้ายๆกันกับการฝึกกับคุณครูSharaht คือหลังจากที่ครูช่วยกดหลังให้เราเสร็จแล้ว ในท่าPaschimottanasana เราก็จะต้องรีบม้วนเสื่อออกไปหาพื้นที่ทำชุดท่าจบ Finishing Seriesตรงบริเวณอื่น เพื่อเสียสละพื้นที่ให้ผู้ฝึกที่รอคิวการฝึกอยู่ที่ด้านนอกของศาลาฝึก ซึ่งแม่ครูก็จะมีห้องนอนที่ไม่ได้ใช้(คือในห้องมันมีเตียงนอนอยู่น่ะครับ)สามารถวางเสื่อได้ 8-10เสื่อ เอาไว้ให้พวกเราได้ทำชุดท่าจบ Finishing Seriesกันที่นี่ ก็มีประมาณนี้ล่ะครับ

ประสบการณ์เกี่ยวกับการฝึกแบบ Led Class, Primary Series. กับแม่ครูSaraswathi ผมได้ฝึกรอบที่สอง ในเวลา7:30น. แน่นอนครับการมารอฝึกLed Class เราจะต้องมาก่อนเวลาเยอะๆ ถ้าจะให้ดีก็ต้องมารอก่อนสัก 1ชั่วโมง จึงจะได้พื้นทีฝึกที่ดีๆ ผมมารอก่อน 1ชั่วโมงเสมอ และผมก็ได้พื้นที่ฝึกที่ดีทุกๆครั้งเลยล่ะครับ การนำLed Class, Primary Series.ของแม่ครู จะมีมนตร์ขลังหลายๆอย่าง ซึ่งเป็นการอนุรักษ์การสอนเป็นแบบดั้งเดิม การไหว้พระอาทิตย์ Sun.A 5รอบแน่นอน, แต่Sun.B จำนวนรอบในแต่ละครั้งที่แม่ครูสอนจะไม่เหมือนกัน ถ้าวันไหนอุณหภูมิในห้องอุ่นๆดี ก็จะแค่3รอบ แต่ถ้าวันไหนอากาศเย็นๆหน่อย ก็จะ5รอบ ซึ่งอันนี ผมว่าเป็นเรื่องที่ดีน่ะครับ ในช่วงท้ายของการฝึก หลังจากจบท่าสุดท้ายของFinishing Seriesแล้ว แม่ครูจะให้ปรับสมดุลย์ลมหายใจ ปรับสมดุลย์พลังงานความร้อนในร่างกาย ด้วยการหายใจสลับรูจมูกแบบพลิกแพลง 2-3รูปแบบ แล้วต่อด้วยการสวดมนตร์ สวดแบบเป็นจริงเป็นจังมากๆเลยล่ะครับ สวดต่อเนื่อง 9บทยาวๆ อารมณืคล้ายๆการทำวัตรเช้าบ้านเราประมาณนั้น พอสวดมนตร์จบครบ 9บท(ประมาณ15นาที) แม่ครูก็จะให้ทุกๆคนทำวินยาสะ เพื่อขึ้นมายืน (ซึ่งลองคิดดูนะครับ ณ ตอนนั้นเหน็บก็เกาะกินขาทุกคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะนั่งสวดมนตร์กันยาวหลายนาที) พอยืนเสร็จก็จะสวดบท Closing Mantra ต่อด้วยวินยาสะอีก1ครั้ง และทำท่าศพอาสนะ ทุกครั้งที่ฝึกLed Classกับแม่ครู เราจะได้นอนพักท่าศพแน่นอนครับ อาจจะแค่ไม่เกิน 3นาที ซึ่ง ณ จุดนี้ พูดเลยว่าแม่ครูยังคงไว้ซึ่งรูปแบบ และขั้นตอนต่างๆของการฝึกอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามแบบที่ท่าน Shri K.Pattabhi Jois ได้ถ่ายทอดให้แม่ครูมา เป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆเลยล่ะครับสำหรับผม ที่ได้มีโอกาสมาฝึกโยคะกับแม่ครูSaraswathi

ในบทความหน้า ผมจะกล่าวถึงความประทับใจในการได้ฟังการ Conference ของแม่ครูSaraswathi และเนื้อหาสาระสำคัญในการบรรยายพิเศษของแม่ครู ให้ทุกๆท่านได้อ่านน่ะครับ

ขอขอบพระคุณสำหรับทุกๆการติดตามครับ

ขอพลังแห่งโยคะ ความรัก ความศรัทธา และสันติสุข จงอยู่กับพวกเราทุกๆคนตลอดไป บุญรักษา พระคุ้มครอง นมัสเต…

4 Responses to “เปิดประสบการณ์ การฝึกโยคะกับแม่ครูSaraswathi(เรื่องเล่า…จากศาลาฝึกโยคะของแม่ครู Saraswathi Jois (ตอนที่ 1)”


  1. Fatal error: Uncaught Error: Call to undefined function ereg_replace() in /home/customer/www/jimmyyuttana.com/public_html/wp-content/themes/peddlar (old)/includes/theme-comments.php:66 Stack trace: #0 /home/customer/www/jimmyyuttana.com/public_html/wp-content/themes/peddlar (old)/includes/theme-comments.php(20): the_commenter_link() #1 /home/customer/www/jimmyyuttana.com/public_html/wp-includes/class-walker-comment.php(183): custom_comment(Object(WP_Comment), Array, 1) #2 /home/customer/www/jimmyyuttana.com/public_html/wp-includes/class-wp-walker.php(147): Walker_Comment->start_el('', Object(WP_Comment), 1, Array) #3 /home/customer/www/jimmyyuttana.com/public_html/wp-includes/class-walker-comment.php(139): Walker->display_element(Object(WP_Comment), Array, '5', 0, Array, '') #4 /home/customer/www/jimmyyuttana.com/public_html/wp-includes/class-wp-walker.php(390): Walker_Comment->display_element(Object(WP_Comment), Array, '5', 0, Array, '') #5 /home/customer/www/jimmyyuttana.com/public_html/wp-includes/comment-template.php( in /home/customer/www/jimmyyuttana.com/public_html/wp-content/themes/peddlar (old)/includes/theme-comments.php on line 66