
เปิดประสบการณ์ การฝึกโยคะกับแม่ครูSaraswathi(เรื่องเล่า…จากศาลาฝึกโยคะของแม่ครู Saraswathi Jois (ตอนที่ 1)
เปิดประสบการณ์ การฝึกโยคะกับแม่ครูSaraswathi(เรื่องเล่า…จากศาลาฝึกโยคะของแม่ครู Saraswathi Jois ตอนที่ 1) เมื่อประมาณ 4เดือนที่แล้ว ผมมีโอกาสได้จัดสรรตารางชีวิตของตนเองแล้ว พบว่าพอจะสามารถทำให้ตนเองมีเวลาว่าง ในช่วงปลายเดือน ธันวาคม 2559 ไปจนถึง กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2560ได้ ณ ตอนนั้น ผมเองก็คิดแค่เพียงว่า อยากหยุดพักงานสอนโยคะสัก1-2เดือน เพราะทำงานมาเยอะตลอดทั้งปี และอยากจะไปฝึกโยคะ ในสถานที่ไหนก็ได้ ที่ไม่มีใครรู้จักเรา ผมจึงตัดสินใจส่งใบสมัครออนไลน์แบบไม่ปรึกษาใครทั้งนั้น ไปที่ Shri K.Pattabhi Jois Ashtanga Vinyasa Yoga Institute.(KPJAYI.) เมืองมัยซอร์ ประเทศอินเดีย คือผมเคยมีประสบการณ์มาฝึกที่นี่แล้วครั้งหนึ่งเมื่อประมาณ4-5ปีที่แล้ว จากประสบการณ์ดังกล่าวผมจึงคิดว่า มาที่นี่ผมจะได้ฝึกในแบบที่ต้องการแน่นอนล่ะครับ แล้วก็จะมีเวลาพักผ่อนระหว่างวันค่อนข้างเยอะอีกด้วย เนื่องจากครั้งที่แล้วผมได้ฝึกโยคะที่นี่กับคุณครูSharath ก็มีความประทับใจกับสไตล์วิธีการสอนของคุณครูSharath ผมก็เลยพยายามจะยื่นใบสมัครมาฝึกกับคุณครูSharathอีก แต่เนื่องด้วยการที่ผมนั้นไม่ได้ปรึกษาใครเลย ก็เลยไม่ทราบว่าขั้นตอนการสมัครมาฝึกกับคุณครูSharath ว่ามีความแตกต่างจากเดิมพอสมควร ไม่ได้สมัครง่ายเหมือนสมัยก่อน มีรายละเอียดยิบย่อยในการสมัครหลายอย่าง ที่เราควรจะต้องสอบถามจากผู้ที่มีประสบการณ์ในการมาฝึกที่เป็นประจำทุกๆปี เราจึงจะทราบขั้นตอน สรุปแล้วก็คือ ผมไม่สามารถสมัครมาฝึกกับคุณครูSharathได้อ่ะนะ ทันใดนั้นเองผมก็คิดขึ้นมาว่า เราแค่มาฝึก มาเพิ่มพูนประสบการณ์ในการฝึก ดังนั้นถ้าตั้งใจที่จะมาฝึกที่นี่แล้วก็ควรมา […]

ตามรอยกูรูโยคะเมืองไทย แรงบันดาลใจ ในการดูแลสุขภาพองค์รวมแบบยั่งยืน(ภาค2..บรมครูโยคะของเมืองไทย คุณครูหนู, ชมชื่น สิทธิเวช)
ตามรอยกูรูโยคะเมืองไทย แรงบันดาลใจ ในการดูแลสุขภาพองค์รวมแบบยั่งยืน(ภาค2..บรมครูโยคะของเมืองไทย คุณครูหนู, ชมชื่น สิทธิเวช) ในยุคปัจจุบัน การฝึกโยคะ ถือเป็นกิจกรรมเพื่อสุขภาพที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในเมืองไทย มีผู้ที่หันมาฝึกโยคะอย่างมากมาย ครูสอนโยคะก็มีไม่ใช่น้อย แต่ถ้าจะขอกล่าวถึงบรมครูโยคะที่ได้รับการยอมรับนับถือ จากพวกเราทุกๆคนในวงการโยคะในยุคปัจจุบันนี้ บุคคลท่านนี้คงจะเป็นใครไปไม่ได้ ท่านคือ คุณครูหนู, ชมชื่น สิทธิเวช ด้วยประสบการณ์ที่แสนจะยาวนานในการสอนโยคะ ท่านจึงมีลูกศิษย์มากมายอยู่ทั่วประเทศ (ตัวผมเองก็น่าจะนับได้ว่า เป็นลูกศิษย์ของคุณครูหนู ด้วยเช่นกันนะครับ อิๆๆ) ผมมีโอกาสดีๆได้นัดเข้ามาสัมภาษณ์คุณครูหนู (ชมชื่น สิทธิเวช) นับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ผมได้มีโอกาสเข้ามาพูดคุยกับบรมครูโยคะแถวหน้าของเมืองไทย สืบเนื่องจากความสงสัยใคร่อยากรู้ ส่วนตัวของผมล้วนๆเลยล่ะครับ แต่ผมเองก็แอบคิดว่า ชาวโยคะหลายๆท่าน ก็น่าจะอยากทราบถึงข้อมูลดังกล่าวนี้ด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ..สาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณครูหนู (ชมชื่น สิทธิเวช) บรมครูโยคะแถวหน้าของเมืองไทย เริ่มหันมาฝึกโยคะ ในยุคสมัยที่เราแทบจะพูดได้เต็มปากเลยล่ะครับ ว่า ณ ยุคนั้นคงไม่ค่อยมีใครสักกี่คนนัก ที่รู้จักกับการฝึกโยคะ คุณครูหนูเล่าถึงสาเหตุของการเริ่มต้นหันมาฝึกโยคะครั้งแรกให้ผมฟัง ด้วยแววตาแห่งความสุข และมีรอยิ้มบนใบหน้า รวมถึงหัวเราะเบาๆเป็นระยะๆ ในขณะที่ได้สนทนากับผมถึงเรื่องนี้ คุณครูหนู เล่าว่าจำไม่ได้ว่าตอนนั้น พ.ศ. อะไร แต่จำได้ว่า ตอนที่เริ่มฝึกโยคะครั้งแรก […]

ตามรอยกูรูโยคะเมืองไทย แรงบันดาลใจ ในการดูแลสุขภาพองค์รวมแบบยั่งยืน
ตามรอยกูรูโยคะเมืองไทย แรงบันดาลใจ ในการดูแลสุขภาพองค์รวมแบบยั่งยืน(ภาคแรก..บรมครูโยคะของเมืองไทย ครูชด หัศบำเรอ) ในวงการโยคะเมืองไทย จากการศึกษาข้อมูลต่างๆ ทั้งจากหนังสือ ตำรา และจากคุณครูโยคะระดับอาวุโสของเมืองไทยหลายๆท่าน จึงทำให้เราพอจะทราบข้อมูลว่า บุคคลซึ่งถือได้ว่า เป็นผู้ที่ได้นำพาศาสตร์แห่งโยคะเข้ามาสู่เมืองไทยเราเป็นท่านแรกๆ น่าจะเป็น คุณครูชด หัศบำเรอ ด้วยความที่ว่า ไอ้ผมเองนี่แหละครับ ที่ดันเป็นคนขี้สงสัย ชอบตั้งคำถาม โน่น นี่ นั่น มันไปเรื่อย จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น ผมก็เลยสงสัยว่า มันน่าจะต้องมีเหตุผล หรือแรงจูงใจอะไรแน่ๆ ที่ทำให้คุณครูชด หัศบำเรอ เกิดแรงบันดาลใจในการเริ่มที่จะฝึกโยคะ และได้นำพาศาสตร์แห่งโยคะเข้ามาสู่เมืองไทย ซึ่งผมเองก็คิดว่าหลายๆท่าน ก็น่าจะเกิดความสงสัยเช่นเดียวกันกับผม ดั้งนั้น ผมจึงนำความสงสัยดังกล่าวนี้ของผม มาสอบถาม พูดคุยกับบุคคลท่านหนึ่ง ที่น่าจะทราบข้อมูล และประวัติความเป็นมา เป็นไปต่างๆ ของคุณครูชด หัศบำเรอ เป็นอย่างดี นั่นก็คือ คุณครูหนู(ชมชื่น สิทธิเวช) คุณครูโยคะระดับอาวุโส ที่ได้รับการยอมรับจากพวกเราในวงการโยคะ ว่า ณ ปัจจุบันนี้ ท่านคือบรมครูโยคะหมายเลขหนึ่งของเมืองไทย ซึ่งคุณครูหนู เป็นผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดศาสตร์แห่งโยคะโดยตรงจากคุณครูชด […]

เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ก่อนที่จะก้าวข้ามจากผู้ฝึกโยคะ ไปสู่ การอบรมหลักสูตรครูสอนโยคะ
เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ก่อนที่จะก้าวข้ามจากผู้ฝึกโยคะ ไปสู่ การอบรมหลักสูตรครูสอนโยคะ ในยุคที่ผู้คนให้ความสำคัญกับเรื่องของสุภาพ อาชีพครูสอนโยคะ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และการเข้ามาอบรมหลักสูตรครูสอนโยคะอาจถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญในชีวิตสำหรับบางคน ในเมืองไทยของเราปัจจุบันนี้มีสถาบันโยคะต่างๆและโยคะสตูดิโอหลายๆแห่ง ที่เปิดอบรมหลักสูตรครูสอนโยคะ เพื่อผลิตบุคลากรทางด้านโยคะออกมาสู่สังคม ซึ่งแต่ละสถาบันก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่เรื่องของสไตล์การสอน, ครูผู้สอน, องค์กรที่มารับรองหลักสูตรที่สอน, ระยะเวลาและจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ รวมถึงราคาค่าเล่าเรียน ความแตกต่างที่กล่าวถึงนี้ คือจุดที่ผู้ที่สนใจจะอบรมหลักสูตรครูสอนโยคะจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสม ตามความสะดวก ตามเหตุผลส่วนตัว แต่ไม่ว่าจะเลือกเรียนที่ไหน อย่างไรก็ตาม เชื่อได้เลยว่า ทุกๆสถาบันที่เปิดอบรมหลักสูตรครูสอนโยคะ ย่อมต้องถ่ายทอดความรู้ทางด้านโยคะให้เราอย่างเต็มที่แน่นอน ถ้าเรามีความมุ่งมั่นตั้งใจจริงในการเรียน เราก็น่าจะได้รับความรู้อย่างเต็มที่จากสถาบันที่เราเลือกไปเรียนด้วยอย่างแน่นอนเช่นกัน ผมเองก็เป็นครูสอนโยคะคนหนึ่งที่เปิดอบรมหลักสูตรครูสอนโยคะ และผ่านเรื่องราวต่างๆมากมายเกี่ยวกับการสอนหลักสูตรครูโยคะมาไม่ใช่น้อย แต่ผมเองก็คงจะต้องขอออกตัวแรงๆเอาไว้ก่อนเลยนะครับ ผมเองก็ไม่ได้เก่งอะไร และไม่ได้รู้ทุกๆเรื่องที่เกี่ยวกับโยคะหรอกนะครับ เวลาที่สอนก็มักจะแชร์แง่มุมที่ตนเองถนัดและเข้าใจ เท่าที่ผมได้เรียนรู้มา เพื่อให้ผู้เรียนได้นำไปประยุกต์ปรับใช้ให้เป็นประโยชน์กับการสอนโยคะมากที่สุด จากประสบการณ์ดังกล่าว รวมกับการที่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคุณครูโยคะหลายๆท่าน ทำให้พอจะทราบได้ว่าผู้ฝึกโยคะในบ้านเราส่วนใหญ่ ยังมีความเข้าใจที่ไม่ค่อยชัดเจนสักเท่าไหร่นัก เกี่ยวกับเรื่องของการอบรมหลักสูตรครูสอนโยคะ ผู้ที่เข้ามาอบรมหลักสูตรครูสอนโยคะในบ้านเราส่วนใหญ่ ที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรครูสอนโยคะที่ไม่ค่อยจะชัดเจนนัก มักจะมีความคาดหวังติดตัวมาจากบ้านเป็นทุนเดิม(มักจะ”มโน”กันเอง) น่าจะเป็นผลมาจาก การที่ได้เห็น ได้สัมผัสแค่เพียงบางแง่มุมของการฝึกโยคะเท่านั้น แล้วก็คิดเอาเอง สรุปเอาเองว่า หลักสูตรครูสอนโยคะ น่าจะเป็นการเรียนรู้เพื่อไปนำผู้อื่นฝึกคล้ายๆกับการออกกำลังกาย, น่าจะเป็นการมาเรียนรู้เรื่องของการดัดตัวด้วยท่วงท่าแปลกๆพิสดารแข่งขันประชันความสามารถกัน หรือตั้งใจที่จะมาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำท่าฝึกที่ต้องใช้ศักยภาพร่างกายสูงๆ ที่ตนเองยังไม่สามารถทำได้ […]

ปฐมบทแห่งการเดินทางสู่เมืองมัยซอร์ ประเทศอินเดีย ของครูจิมมี่ (Jimmy in Mysore 1)
ปฐมบทแห่งการเดินทางสู่เมืองมัยซอร์ ประเทศอินเดีย ของครูจิมมี่ (Jimmy in Mysore 1) กำหนดการของผม ในการเดินทางมาฝึกโยคะที่ KPJAYI. (K Pattabhi Jois Ashtanga Yoga Institute) เมืองมัยซอร์ ประเทศอินเดีย คือ 27 ธันวาคม 2555 – 30 มกราคม 2556 (ท่าน ศรี เค ปัถพี โชอิส ครูผู้ก่อตั้ง สถาบัน KPJAYI.) ผมมีความใฝ่ฝันที่จะมาฝึกโยคะที่เมืองมัยซอร์ ประเทศอินเดีย ตั้งแต่สมัยที่ท่าน ศรี เค ปัถพี โชอิส ยังคงมีชีวิตอยู่แล้วล่ะครับ หลังจากที่ได้ทราบว่าท่านเป็นกูรูทางด้านโยคะชาวอินเดียที่มีชื่อเสียงมากๆ และท่านได้เป็นผู้ถ่ายทอดสรรพวิทยาต่างๆทางด้านโยคะให้กับครูโยคะที่มีชื่อเสียงมากมายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ริชาร์ด ฟรีแมน, เดวิด สเวนสัน(ครูโยคะผู้เป็นไอด่อลของผม), คิโน แม็คเกรเกอร์, ทิม มิลเล่อร์, เดวิด ไลฟ์, […]